ชุดเชฟ ส่วนประกอบที่ลงตัวในการใช้ชีวิตในครัวตลอดวัน

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  760 จำนวนผู้เข้าชม  | 

คุณสมบัติวัสดุที่ใช้ในการทำชุดเชฟ

การทำงานในแต่ละอาชีพ เครื่องแบบ หรือ ชุดยูนิฟอร์ม เป็นเครื่องบ่งบอกถึงอาชีพของคน ๆ นั้นได้โดยที่ไม่ต้องเอ่ยถาม โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องใช้ความชำนาญและความน่าเชื่อถืออย่าง เชฟ ที่ต้องสวมใส่ ชุดเชฟ อยู่เสมอเมื่อปฏิบัติงาน


ที่มาของ ชุดเชฟ


นอกจากวัตถุประสงค์ของชุด ที่สร้างมาเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและช่วยเหลือเชฟในขณะที่พวกเขาปฏิบัติงานแล้ว รู้มั้ยว่า ชุดเชฟ ยังมีประวัติที่ยาวนานตั้งแต่สมัยกลางศตวรรษที่ 19 เลยล่ะ




ถ้าจะให้พูดถึงเรื่องต้นกำเนิดของชุดเชฟ 

มันเริ่มขึ้นจาก Marie-Antoine Careme เชฟชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงมาก ๆ ในยุคนั้น ได้สั่งทำชุดเชฟขึ้นมาสวมใส่เป็นคนแรก เพื่อเป็นเกียรติและแสดงความนับถือแก่ผลงานของเชฟมืออาชีพ และให้ลูกค้าได้เชยชมและสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาที่ร้าน ชุดเชฟแบบดั้งเดิมประกอบไปด้วย

  • หมวกทรงกระบอกสูงจับจีบ สีขาวสะอาด
  • เสื้อแจ็คเก็ตสีขาว มีกระดุมสองแถวพร้อมกระดุมผ้าผูกปม
  • กางเกงทรงหลวม ลายตารางขาวดำ


เรามาเจาะลึกในแต่ละชิ้นส่วนของชุดเชฟกัน

1.หมวกเชฟ THE CHEF'S HAT
สัญลักษณ์อันโดดเด่นของเชฟ จะเป็นอะไรไปได้ถ้าไม่ใช่ หมวกเชฟ ที่มีลักษณ์ทรงสูง สีขาว เรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดเลยทีเดียว 

ในสมัยก่อน ความสูงของหมวกเชฟ จะบ่งบอกถึงตำแหน่งความอาวุโสของเชฟคนนั้น ๆ ถ้าหมวกยิ่งสูงมากขึ้นเท่าไหร่ ก็แปลว่าเชฟคนนั้นอยู่ในครัวมาอย่างยาวนานมากเท่านั้น และอีกส่วนนึงที่บ่งบอกถึงระยะเวลาสั่งสมประสบการณ์ของเชฟ ก็คือ จำนวนจับจีบบนหมวกเชฟ ยิ่งมากก็ยิ่งเยอะประสบกาณ์

ในปัจจุบัน ถึงจะไม่ค่อยพบเจอเชฟที่ไหนใส่หมวกสูงจับจีบแบบดั้งเดิมแล้ว แต่ในบางภัตรคารหรู หรือในร้านอาหารชั้นเลิศบางแห่งก็ยังคงใช้หมวกเชฟทรงสูงอยู่ เชฟส่วนใหญ่จะปรับรูปแบบจากหมวกทรงสูงมาเป็นหมวกทรงกะโหลก หรือใช้เป็นเพียงผ้าโพกศีรษะไว้เฉยๆ เพราะจุดประสงค์หลักของหมวกเชฟ คือการป้องกันไม่ให้เส้นผมร่วงลงในอาหารนั่นเอง

วัสดุที่นิยมใช้ทำหมวกเชฟ

  • หมวกผ้าฝ้าย : ระบายอากาศได้ดี  ซักง่าย  ราคาไม่แพง แต่หมวกประเภทนี้อาจจะยับง่าย เวลานำไปซักก็จะแห้งช้า
  • หมวกผ้าโพลีเอสเตอร์ : เหมาะกับงานที่ต้องสู้ในครัวกันเยอะหน่อย เพราะมันทั้งกันน้ำ กันน้ำมัน ซักง่าย รีดง่าย แห้งไว แต่เรื่องระบายอากาศจะทำได้ไม่ดีเท่าหมวกผ้าฝ้าย
  • หมวกผ้าผสม : จะนำข้อดีของหมวกทั้งสองประเภทมารวมกัน จึงเหมาะมากกับงานครัวที่ต้องเจอน้ำ เจอไฟเยอะ 
  • หมวกผ้าตาข่าย : ระบายอากาศได้ดีที่สุด เหมาะกับเชฟที่อยู่ในครัวร้อน

2.เสื้อแจ็คเก็ตเชฟ THE CHEF'S JACKET
ถ้าเป็นยูนิฟอร์มของเชฟ จะขาดเสื้อแจ็คเกตในชุดเชฟไปได้ยังไงใช่มั้ยคะ?

ในสมัยโบราณ เสื้อเชฟในครัวจะทำจากผ้าที่มาจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อปกป้องร่างกายจากความร้อน ควัน และเศษอาหาร  ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสวมเสื้อคลุมยาวสีขาว ให้คล้ายกับชุดของนักบวช สิ่งนี้จะแสดงถึงความสะอาด ความบริสุทธิ์ และความเป็นมืออาชีพของผู้ปรุงอาหาร 

ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการออกแบบเสื้อแจ็คเก็ตเชฟให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น โดยเพิ่มกระดุมสองแถวและกระเป๋าเสื้อเข้ามา จากนั้นก็ได้พัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ จนเป็นชุดเชฟที่มีดีไซน์หลากสี แต่ยังคงยึดหลักวัตถุประสงค์เดิม นั่นก็คือ เป็นเสื้อที่ทนทาน สะดวกในการทำงาน และแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ 


3.กางเกงเชฟ THE CHEF’S PANTS
กางเกงที่รวมอยู่ในชุดเชฟ ก็มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเลือกเป็นทรงหลวม เพื่อให้เชฟนั้นสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก และช่วยในการระบายความร้อนได้ดี เพราะหากเชฟใส่กางเกงที่กระชับเกินไป จะทำให้ร่างกายนั้นกักเก็บความร้อนไว้ในผิวได้ 


วัสดุที่นิยมใช้ทำชุดเชฟ :

  • ผ้าฝ้าย : มีความทนทาน ช่วยระบายอากาศได้ดี ซักง่าย และราคาไม่แพง
  • ผ้าโพลีเอสเตอร์ : คุณสมบัติกันน้ำ กันน้ำมัน ซักง่ายและแห้งเร็ว 
  • ผ้าผสม : ผสมผสานข้อดีของผ้าฝ้ายและผ้าโพลีเอสเตอร์ มีความทนทาน ระบายอากาศได้ดี กันน้ำ กันน้ำมัน ซักง่ายและแห้งเร็ว
  • ผ้าทวิล : มีความทนทาน กันน้ำ กันน้ำมัน ระบายอากาศได้ดีกว่าใคร แต่ราคาค่อนข้างแพง

4.ผ้ากันเปื้อน THE CHEF'S APRON
สิ่งนี้เป็นหนึ่งตัวช่วยเสริม ที่ทำให้ชุดเชฟสมบูรณ์ยิ่งขึ้น แม้จะไม่ได้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่ผ้ากันเปื้อนจะช่วยป้องกันความร้อน กันไฟและคราบสกปรกในระหว่างการทำอาหารได้ดี 

วัสดุที่ใช้ทำผ้ากันเปื้อนจะต้องเน้นวัสดุที่ทนไฟ ทนทาน อาจจะมีกระเป๋าไว้สำหรับการใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้งานในครัวด้วย

5.รองเท้าเชฟ THE CHEF'S SHOES
หลายคนอาจมองว่าเชฟจะใส่รองเท้าอะไรทำอาหารก็ได้ แต่ไม่เลยค่ะ 

รองเท้าเชฟ คือรองเท้าที่จะต้องเน้นความปลอดภัยและใส่สบายเป็นหลัก เพราะต้องยืนทำงานทั้งวัน รองเท้าเชฟจึงต้องเลือกที่สวมใส่พอดีกับเท้า ทนแรงกระแทกและการใช้งานอย่างหนักได้เป็นอย่างดี มีคุณสมบัติกันลื่น กันไฟ และมีการเสริมกันกระแทก ในกรณีที่อาจมีอุปกรณ์ใด ๆ หรืออาหารร้อน ๆ หกใส่ได้ จะได้ไม่เจ็บตัว อีกอย่างคือควรเลือกที่ไม่มีเชือก ลดความเสี่ยงในการสะดุดเชือกรองเท้าได้ค่ะ


ทั้งหมดนี้ รวมเรียกว่า ‘ ชุดเชฟ

ชุดที่บ่งบอกถึงอาชีพในครัว ที่ไม่ได้มีดีแค่การทำอาหาร แต่ยังแสดงถึงความภาคภูมิใจในหน้าที่ และการสั่งสมประสบการณ์ในครัวของเชฟ ที่ได้มอบความสุขให้กับลูกค้ามาตลอดเส้นทางนี้อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้